วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

1.3 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรุ้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

                http://5211013928.multiply.com ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
                http://surinx.blogspot.com ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ จอห์น ล็อค (John Locke) วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt) ทิชเชเนอร์ (Titchener) และแฮร์บาร์ต (Herbart) )
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1.มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)
2.จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
3.วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือการสัมผัสทั้ง 5 (sensation) แลการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
4.ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือการคิดวิเคราะห์
5. แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sens activity) ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ (conceptual thinking or understanding) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อย ๆ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน ( apperception)
6.แฮร์บาร์ตเชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ ๆ
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การจัดให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.การช่วยให้ผู้เรียนสร้างสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี
3.การสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว ขั้นตอนดังกล่าวคือ
3.1 ขั้นเตรียมการหรือขั้นนำ (preparation) ได้แก่การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม
3.2 ขั้นเสนอ (presentation) ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่
.3.3 ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparison and abstraction) ได้แก่การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเปรียบเทียบ การผสมผสาน ฯลฯ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงใหม่ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
3.4 ขั้นสรุป (generalization) ได้แก่การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่าง ๆ ที่จะสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่น ๆ ต่อไป
3.5 ขั้นประยุกต์ใช้ (application) ได้แก่การให้ผู้เรียนนำข้อสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ๆที่ไม่เหมือนเดิม
                http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส   
                กล่าวโดยสรุป     การรับรู้ความคิดหรือรับรู้ความรู้สึกขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและสภาวะสิ่งต่างๆรอบข้างเพราะฉะนั้นการที่จะรับรู้ได้ดีก็ขึ้นอยู่กับสิ่งรอบข้าง สิ่งเหล่านี้จะทำการเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดี
                เอกสารอ้างอิง
                 http://5211013928.multiply.com/      เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554
                http://surinx.blogspot.com                 เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554
                http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486      เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554

1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)

http://www.wijai     ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก  ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก48.com/learning_stye/learningprocess.htm
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321     ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486    ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน 
                กล่าวโดยสรุปได้ว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ โดยการเรียนรู้ของเด็กจะต้องให้เด็กมีการเรียนรู้ไปตามธรรมชาติของตนเอง การมีสื่อในการสอนนั้นจะช่วยทำให้เด็กเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สื่อที่นำมาใช้ก็ควรจะใช้ของจริงหรือสือที่สมจริงเพราะเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วกว่าการนึกภาพ เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก
                เอกสารอ้างอิง
                (http://www.wijai)    เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 48.com/learning_stye/learningprocess.htmมิถุนายน 2554
                (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321)    เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554
                (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)      เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554

1.1 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง ( Mental Discipline )

                 http://www.isu.ob.te ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาได้ปราดเปรื่องโดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส (Socaratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย (Didactic Method ) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฎีนี้ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดเจนและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผูเรียนเกิดการเรียนรูได้ดี
                http://surinx.blogspot.com  ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
                 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้  
                ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
2.มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
.3.สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
4.การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
5.การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด เป็นสิ่งสำคัญในการฝึกให้บุคคลเป็นคนฉลาดและคนดี
2.การฝึกจิตจะต้องทำอย่างเข้มงวด เพื่อให้จิตเข้มแข็ง การบังคับ ลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง
3.การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาที่ยาก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาตินและภาษากรีก จะช่วยฝึกฝนสมองให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี
.4.การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ใบเบิลและยึดถือในพระเจ้า จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนดี

 กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1.พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
2.มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลวและการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral - active)
\3.มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
\4.มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
2.การพัฒนาผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับ เคี่ยวเข็ญ แต่ควรใช้เหตุผลเพราะมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความสามารถในการใช้เหตุผล
3.การใช้วิธีสอนแบบโสเครตีส (Socratic Method) คือการใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้เห็นกระจ่างชัด เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4.การใช้วิธีสอนแบบบรรยาย (Didactic Method) คือการสอนที่ใช้คำถามฟื้นความจำของผู้เรียนแล้วเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีอีกวิธีหนึ่ง
                http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
                กล่าวโดยสรุป  จิต สมองหรือสติปัญญาสามารถฝึกได้และถ้าหากมีการฝึกให้มีความยากขึ้นก็จะทำให้จิตและสมองมีความแข็งแกร่งขึ้น โดยการเรียนรู้หรือการฝึกถ้าหากมีการสอนหรือมีการแนะนำที่ดีก็จะทำให้การเรียนรู้นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มนุษย์มีแรงกระตุ้นที่อยากจะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ในการเรียนรู้ต่างๆควรมีแรงกระตุ้นให้จิตหรือสมองนั้นได้สั่งงานและทำงานอย่างเต็มที่
                เอกกสารอ้างอิง
                http://www.isu.ob.te        เข้าถึงเมื่อวันที่23 มิถุนายน 2554
                http://surinx.blogspot.com/   เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554
                http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486    เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554