ความหมายของการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์
สมาคมครูคณิตศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (The
National of Teachers of Mathematics.
1991:
Online)
ได้ให้ความหมายของการเชื่อมโยง (Connection skill) ไว้ว่า การเชื่อมโยง
หมายถึงการผสมผสานแนวคิดที่มีความเกี่ยวข้องกันให้รวมกันเป็นองค์ประกอบเดียวกัน
โดยการเชื่อมโยงมีลักษณะดังนี้
1. การเชื่อมโยงภายในวิชา
เป็นการนำเนื้อหาภายในวิชาเดียวกันไปสัมพันธ์กันให้นักเรียนได้ประยุกต์ความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตจริง
ช่วยนักเรียนให้ทำความเข้าใจถึงความแตกต่างของเนื้อหาวิชา รวมทั้งพีชคณิต เรขาคณิต
และตรีโกณมิติ ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีความหมาย
2. การเชื่อมโยงระหว่างวิชา เป็นการรวมศาสตร์ต่าง ๆ
ตั้งแต่ 2 สาขา ขึ้นไป ภายใต้หัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกันให้มาสัมพันธ์กัน เช่น
วิชาคณิตศาสตร์กับวิชาวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์สังคม กีฬา หรือศิลปะ
เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในวิชาต่าง ๆ มากกว่า 1 วิชาขึ้นไป
จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง และตรงสภาพชีวิตจริง
กรมวิชาการ (2544, หน้า 203)
ได้กล่าวเกี่ยวกับทักษะกระบวนการการเชื่อมโยงไว้ว่าในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ต้องการให้นักเรียนมีความรู้และมีพื้นฐานในการที่จะนำไปศึกษาต่อนั้น
จำเป็นที่จะต้องบูรณาการเนื้อหาต่างๆในวิชาคณิตศาสตร์เข้าด้วยกัน เช่น การใช้ความรู้เรื่องเซตในการให้คำจำกัดความหรือบทนิยามในเรื่องต่างๆ
เช่น บทนิยามเรื่องฟังก์ชันในรูปของเซต บทนิยามของลำดับในรูปของฟังก์ชัน
นอกจากการเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาต่างๆ ในคณิตศาสตร์ด้วยกันแล้ว
ยังมีการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆโดยใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
และใช้ในการแก้ปัญหา เช่น
งานศิลปะและการออกแบบบางชนิดก็ใช้ความรู้เกี่ยวกับรูปเรขาคณิต
นอกจากนั้นแล้วยังมีการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ในวิชาชีพบางอย่างโดยตรง
เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า งานคหกรรมเกี่ยวกับอาหาร งานเกษตร งานออกแบบสร้างหีบห่อบรรจุภัณฑ์ต่างๆรวมถึงการนำคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน
เช่นการซื้อขาย การชั่ง ตวง วัด การคำนวณระยะทางและเวลาที่ใช้ในการเดินทาง
การวางแผนในการออมเงินไว้ใช้ในช่วงบั้นปลายของชีวิต
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (
2550 , หน้า 83 ) กล่าวว่าการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการที่อาศัยการคิดวิเคราะห์
และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการนำความรู้
หลักการทางคณิตศาสตร์มาสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลระหว่างความรู้ และทักษะ/กระบวนการที่มีในเนื้อหาคณิตศาสตร์กับงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
และการเรียนรู้แนวคิดใหม่ที่มีความซับซ้อนขึ้น
อ้างอิง
กรมวิชาการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550).ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ:ม.ป.ท.
ช่วยยกตัวอย่างหัวข้อมาหน่อยครับ
ตอบลบ